ประโยชน์ของออกซิน

ผลของออกซินที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชและการใช้ประโยชน์


1. กระตุ้นการแบ่งเซลล์ ออกซินช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์แคมเบียม (cambium) ทำให้พืชมีเนื้อ ไม้มากขึ้นและเกิดการเจริญเติบโตด้านข้างเพิ่มขึ้น
2. เร่งการขยายตัวของเซลล์ ออกซินช่วยให้เซลล์ในส่วนต่างๆ ของพืชยืดยาวโดยการกระตุ้นให้ เซลล์สร้างผนังเซลล์มากขึ้น

3. ควบคุมการแตกของราก ออกซินสามารถกระตุ้นการเกิดของรากของกิ่งตอนหรือกิ่งปักชำของ พืชได้หลายชนิด โดยออกซินสามารถกระตุ้นให้เกิดรากพิเศษ (Adventitous root) และกระตุ้นการเกิดเนื้อเยื่อเจริญของราก

4. ยับยั้งการเจริญของตาข้างและกิ่ง แหล่งที่สำคัญของออกซินได้แก่ บริเวณยอดอ่อน ยอดอ่อนจะผลิตออกซินแล้วส่งไปยังส่วนต่างๆ ของพืช การเคลื่อนที่ของออกซินลงมาด้านล่าง (basipetal movement) จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของตาข้าง (lateral buds) โดยตาข้างไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ตราบใดที่ตาข้างยังได้รับออกซินจากยอด แต่ถ้าตัดยอดทิ้งไป ตาข้างซึ่งอยู่ถัดไปจะเจริญเติบโตขึ้นมาทันที
5 ป้องกันการร่วงของใบ กิ่ง และผล ควบคุมการร่วงของใบ ดอก และผลเมื่ออวัยวะดังกล่าวแก่ ตัวลง การสร้างออกซินจะน้อยลงซึ่งจะน้อยกว่าส่วนอ่อนและลำต้นจึงทำให้ร่วงได้ ดังนั้นการพ่นออกซินในปริมาณที่เหมาะสมต่อส่วนต่างๆ เหล่านั้นจะไม่หลุดล่วงง่าย

6. การเพิ่มการติดผล มีการทดลองใช้สารออกซินกับพืชบางชนิด ปรากฏว่าสารในกลุ่มออกซิน สามารถที่จะเพิ่มการติดผลของพืชได้ เช่น การใช้ 2,4-D กับส้มเขียวหวานการใช้สาร NAA กับพริก หรือการใช้ 4-CPA กับมะเขือเทศ พบว่า สารต่าง ๆ นั้นสามารถเพิ่มการติดผลของพืชได้ โดยเฉพาะพืชที่มีเม็ดมาก ๆ แต่ถ้าเป็นพืชพวกเมล็ดเดียว เช่น ท้อ มะม่วงนั้น การใช้สารในกลุ่มออกซินช่วยเพิ่มการติดผล พบว่าไม่ได้ผล คือ พืชจะไม่ตอบสนองต่อสารในด้านการเพิ่มผลผลิต

7. เร่งการเกิดดอก เกษตรกรหลายท่านเข้าใจว่าสารกลุ่มออกซินนี้เร่งการเกิดดอกของพืชได้ แต่ แท้จริงแล้วนั้น ผลของออกซินในข้อนี้ค่อนข้างเลื่อยลอย เท่าที่มีการทดลองสรุปได้แน่ชัดว่าออกซินเร่งการเกิดดอกของสับปะรดได้ในเฉพาะสับปะรดเท่านั้น การใช้ NAA หรือ IBA สามารถเร่งการเกิดดอกของสับปะรดได้ แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าการใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) และ ethephon อย่างไรก็ตามการเกิดของสับปะรดไม่ได้เป็นผลของ NAA หรือ IBA โดยตรง แต่เป็นผลทางอ้อมที่สารดังกล่าวไปกระตุ้นให้สับปะรดสร้างเอทิลีน (ethylene) ขึ้นมา และเอทิลีนเป็นตัวกระตุ้นให้สับปะรดเกิดดอก สำหรับในประเทศไทยเคยมีการแนะนำให้ใช้ NAA ผสมกับโพแทสเซียมไนเทรต (KNO3) เพื่อฉีดดอกมะม่วง แต่ยังไม่มีข้อมูลใดๆ ยืนยันว่าวิธีดังกล่าวใช้ได้ผล
8. ใช้กำจัดพืช จากการศึกษาพบว่าสารในกลุ่มออกซินทุกชนิดสามารถใช้กำจัดวัชพืชได้ถ้าหาก ใช้ในความเข้มข้นที่สูง สารออกซินที่นิยมใช้กำจัดวันพืช คือ 2,4–D, 2, 4, 5–T และ MCPA สารทั้งสามชนิดนี้มีฤทธิ์ของออกซินสูงมาก จึงได้มีการนำมาใช้ในการกำจัดวัชพืช โดยสารกำจัดพืชเหล่านี้อาจจะอยู่ในรูปเกลือของด่างอ่อนเช่น Ammonia (Amines) Ester, Emulsifiable และผสมกับน้ำมันหรือ Detergent เพื่อให้เกิดการกระจายตัวและจับใบสามารถดูดซึมเข้าสู้ใบพืชได้ดีขึ้น โดยพืชดูดซึมสารแล้วลำเลียงไปทางท่ออาหาร (phloem) เป็นส่วนใหญ่ไปกับสารที่เกิดจากการสังเคราะห์แสง ซึ่งจะให้ผลดีที่สุดคือช่วงเช้าของวันที่มีแดด


ช่วยในการเร่งการเจริญเติบโตของดอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น