การตอบสนองของพืชต่อออกซิน



 1. การตอบสนองในระดับเซลล์          ออกซินทำให้เกิดการขยายตัวของเซลล์ (Cell enlargement) เช่น ทำให้เกิดการขยายตัวของใบ ทำให้ผลเจริญเติบโต  เช่น กรณีของสตรอเบอรี่  ถ้าหากกำจัดแหล่งของออกซิน ซึ่งคือส่วนของเมล็ดที่อยู่ภายนอกของผล (ผลแห้งแบบ Acheneจะทำให้เนื้อเยื่อของผลบริเวณที่ไม่มีเมล็ดรอบนอกไม่เจริญเติบโต  ออกซินทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ได้ในบางกรณี  เช่น  กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของแคมเบียมและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ เช่น กระตุ้นให้เกิดท่อน้ำและท่ออาหาร กระตุ้นให้เกิดรากจากการปักชำพืช    เช่น การใช้ IBA ในการเร่งรากของกิ่งชำ แล้วยังกระตุ้นให้เกิดแคลลัส (Callus) ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  แต่การตอบสนองในระดับเซลล์ที่เกิดเสมอคือ การขยายตัวของเซลล์
                        2. การตอบสนองของอวัยวะหรือพืชทั้งต้น
                           2.1  เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชต่อแสง  (Phototropism) Geotropism ดังได้กล่าวมาแล้ว
                           2.2  การที่ตายอดข่มไม่ให้ตาข้างเจริญเติบโต         (Apical Dominance)
                           2.3  การติดผล เช่น กรณีของมะเขือเทศ    ออกซินในรูปของ 4 CPA จะเร่งให้เกิดผลแบบ  Pathenocarpic และในเงาะถ้าใช้ NAA 4.5 เปอร์เซ็นต์  จะเร่งการเจริญของเกสรตัวผู้ทำให้สามารถผสมกับเกสรตัวเมียได้     ในดอกที่ได้รับ NAA เกสรตัวเมียจะไม่เจริญเพราะได้รับ NAA ที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป แต่เกสรตัวผู้ยังเจริญได้ ทำให้การติดผลเกิดมากขึ้น
                          2.4 ป้องกันการร่วงของผลโดยออกซินจะยับยั้งไม่ให้เกิด Abcission layer ขึ้นมา     เช่น การใช้ 2,4-D ป้องกันผลส้มไม่ให้ร่วง หรือ NAA สามารถป้องกันการร่วงของผลมะม่วง
                           2.5  ป้องกันการร่วงของใบ
                           2.6 ในบางกรณีออกซินสามารถทำให้สัดส่วนของดอกตัวเมีย    และตัวผู้เปลี่ยนไปโดยออกซินจะกระตุ้นให้มีดอกตัวเมียมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น